การกินยาหรืออาหารเสริมเพื่อลดความอ้วนหรือลดน้ำหนักไม่ได้เหมาะสมกับทุกคน อันดับแรกควรคำนึงถึงค่า BMI

การกินยาและอาหารเสริมเพื่อลดความอ้วนหรือลดน้ำหนักนั้น ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาเรื่องน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับทุกๆ คน ก่อนอื่นเลยนั้นมีบางคนที่จริงๆ แล้วไม่ได้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ แต่กลับรู้สึกว่าตัวเองอ้วน อาจเป็นแค่เพียงมีรูปร่างไม่สมส่วนที่สามารถแก้ได้ด้วยการออกกำลังกาย หรือเพราะคิดไปเองว่าน้ำหนักเกิน ไปจนถึงอาการหนักจากการป่วยเป็นโรคคลั่งผอม ดังนั้น อย่างแรกที่ควรคำนึงถึงนอกจากความรู้สึกของตัวเองว่าอ้วนหรือไม่อ้วน จริงๆ แล้วสามารถตรวจสอบได้จากเกณฑ์มาตรฐานของค่า BMI (ฺBody Mass Index) หรือดัชนีมวลกาย

การคำนวณค่า BMI กับค่า BMI ที่แสดงว่าไม่จำเป็นต้องกินยาลดความอ้วนหรือลดน้ำหนัก

ค่า BMI (ฺBody Mass Index) เป็นมาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเซนติเมตร แล้วนำมาหาดัชมีมวลกาย

การคำนวณค่า BMI กับค่า BMI

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ายาลดความอ้วนสามารถใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งความจริงแล้วเป็นยาที่แพทย์เป็นผู้สั่งจ่าย เพื่อใช้กับผู้ที่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยการควบคุมอาหาร หรือไม่สามารถออกกำลังกายเนื่องจากปัญหาสุขภาพ ได้แก่

  1. ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่า 30
  2. ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่า 27 และมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนโดยตรง
  3. ผู้ที่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ 1 ปอนด์ (ประมาณ ½ กิโลกรัม) ต่อสัปดาห์ หลังจากผ่านมาแล้ว 6 เดือนแม้ว่าจะควบคุมอาหาร, ออกกำลังกายหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ แล้วก็ตาม

สำหรับผู้ใหญ่สุขภาพปกติ องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดค่าดัชนีมวลกายปกติไว้ที่ช่วง 18.5 ถึง 24.9 ดังนั้น หากมีดัชนีมวลกายหรือค่า BMI น้อยกว่า 25 ก็ไม่ควรกินยาลดความอ้วนหรือลดน้ำหนักเพราะไม่ได้เข้าข่าย “ภาวะอ้วนเกิน” หรือ “โรคอ้วน” (Obesity) ที่จำเป็นต้องควบคุมน้ำหนักแต่อย่างใด

บุคคลในภาวะต่างๆ ที่ไม่ควรกินยาลดความอ้วนหรือยาลดน้ำหนัก

นอกจากผู้ใหญ่ที่ค่าดัชนีมวลกายหรือค่า BMI ปกติ ที่ไม่จำเป็นต้องกินยาลดความอ้วนหรือลดน้ำหนัก ยังมีบุคคลที่มีภาวะอื่นๆ บางกรณีไม่ว่าจะมีดัชนีมวลกายหรือค่า BMI ปกติหรือไม่ก็ตามที่ไม่เหมาะสมที่จะกินยาลดความอ้วนหรือลดน้ำหนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุที่น้อยเกินไป, ภาวะตั้งครรภ์, ผู้ป่วยในบางกลุ่มโรครวมถึงผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้ยาลดความอ้วนในกลุ่มเฟนเทอร์มีน (phentermine) มีใครอีกบ้างที่ไม่ควรได้รับยาลดความอ้วนหรือยาลดน้ำหนักนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้

  1.  ผู้ที่ไม่เข้าข่าย “ภาวะอ้วนเกิน” หรือ “โรคอ้วน”

คือผู้ที่มีดัชนีมวลกายหรือค่า BMI น้อยกว่า 25

  1.  เด็กและวัยรุ่น

เพราะยาจะไปส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนที่ใช้ในการเจริญเติบโต รวมถึงขัดขวางการดูดซึมสารอาหารบางชนิด เช่น เหล็กและแคลเซียม

  1.  สตรีที่กำลังตั้งครรภ์

เนื่องจากภาวะน้ำหนักขึ้นที่มากกว่าเกณฑ์ปกติในช่วงตั้งครรภ์ เพราะยาลดความอ้วนอาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น และยิ่งทำให้การทำงานของหัวใจที่ผิดปกติในช่วงตั้งครรภ์รุนแรงขึ้น

  1.  สตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร

เพราะอาจจะทำให้มีสารบางอย่างในยาตกค้างในน้ำนม ทำให้เด็กได้รับสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายได้

  1.  มีประวัติเกี่ยวกับโรคที่ต่อมไทรอยด์ เช่น อาการไฮเปอร์ไทรอยด์

เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินนั้น มีอัตราการเผาผลาญอาหารสูงกว่าปกติอยู่แล้ว

  1.  ผู้ป่วยขณะที่กำลังได้รับยากลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitors (MAOI)

รวมทั้งที่เคยได้รับ MAOI มาก่อนหน้านี้ไม่เกิน 14 วัน

  1. ผู้ป่วยโรคลมชัก (Epilepsy) ที่ยังคงรับประทานยาต้านชัก (Anti-Seizure Medicines)
  2. กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจโต โรคหลอดเลือดหัวใจ(H3)
  3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ต้องใช้ยาลดความดัน(H3)
  4. ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดอุดตัน(H3)
  5. ผู้ป่วยโรคต้อหิน (Glaucoma)(H3)
  6. ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการใช้ยาในทางที่ผิด(H3)
  7. ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคจิต หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ(H3)

ระวัง! ผู้ที่ไม่ควรกินยาลดความอ้วนหรือยาลดน้ำหนัก

สรุปแล้วเมื่อจำเป็นต้องใช้ยาลดความอ้วนหรือยาลดน้ำหนักควรปรึกษาแพทย์

ยาลดความอ้วนหรือยาลดน้ำหนักทั้งหลาย ล้วนมีผลไม่พึงประสงค์หลายอย่างจึงควรใช้ในรายที่จำเป็นเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการไม่ใช้ยาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับประทานและการใช้พลังงานของร่างกายมาแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังต้องสามารถอยู่ในการควบคุมดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายก่อนใช้ยาและตลอดช่วงที่ใช้ยา เพื่อประเมินถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา รวมถึงพร้อมที่จะหยุดใช้ยาทันทีหากมีปัญหาเรื่องผลไม่พึงประสงค์จากยา หรือพบว่าภายหลังการใช้ยาเป็นเวลานาน 3-4 เดือนแล้วแต่น้ำหนักลดลงไม่ถึง 5% ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายให้น้อยที่สุดนั่นเอง

ข้อมูลจาก

    1. https://www.healthline.com/health/healthy-eating/diet-pills
    2. http://www.onlinedietguide.org/are-diet-pills-meant-for-you-have-a-look.html
    3. https://www.dailymail.co.uk/health/article-4523666/Why-teens-never-diet-pills
    4. https://www.pobpad.com/ยาลดความอ้วน-ปลอดภัยหรื
    5. https://www.lovefitt.com/เครื่องคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย-bmi
    6. https://mgronline.com/goodhealth/detail/9620000084131
    7. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/7/ยาลดความอ้วน-ยาลดน้ำหนัก-Phentermine-ข้อควรระวัง
    8. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/468/ยาลดความอ้วน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บอาหารเสริมลดน้ำหนักยี่ห้อไหนดีได้ที่นี่ ยาลดความอ้วนยี่ห้อไหนดี 10 อันดับ ได้หุ่นใหม่ แบบไม่ทรมาน

 

สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาหารเสริมลดน้ำหนัก

สาเหตุของโรคอ้วน

ชนิดของอาหารเสริมลดน้ำหนัก (สารเคมี vs สมุนไพร)

อาหารเสริมลดน้ำหนัก vs ไฟเบอร์ดีท็อกซ์ ต่างกันอย่างไร

อันตรายจากการใช้ยาลดความอ้วน