การออกกำลังกายที่เหมาะสมตามช่วงวัย ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพกายและใจเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมความปลอดภัยอีกด้วย เนื่องจากท่าออกกำลังกายบางท่าไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน อีกทั้งเป้าหมายที่แตกต่างกันมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนด้วย ในบทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้คุณ ออกกำลังกายเพิ่มความฟิต ปรับเปลี่ยนกิจวัตรการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพที่ดี และปลอดภัยจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ ตามช่วงวัยของแต่ละบุคคล โดยยังมีคำแนะนำด้านโภชนาการที่เหมาะกับการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม และได้สุขภาพดี
ทำความเข้าใจเรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย
1. สมรรถภาพในช่วงอายุ 20 ถึง 30 ปี
ในช่วงอายุ 20 ถึง 30 ปี ร่างกายจะอยู่ในระดับสมรรถนะสูงสุด ช่วงวัยนี้จึงเหมาะกับ ออกกำลังกายเพิ่มความฟิต การสร้างมวลกล้ามเนื้อ ความอดทน และสามารถสร้างกิจวัตรการออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ
- เน้น: การออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูง การฝึกความแข็งแกร่ง การยกน้ำหนัก และการสร้างกล้ามเนื้อ
- โภชนาการ: อาหารครบ 5 หมู่ พร้อมสัดส่วนโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่เหมาะสม
2. สมรรถภาพในช่วงอายุ 40 ถึง 50 ปี
เมื่อคุณเข้าสู่ช่วงอายุ 40 และ 50 ปี ระบบเผาผลาญในร่างกายของคุณจะเริ่มช้าลง และมวลกล้ามเนื้อจะลดลงตามธรรมชาติ
- เน้น: ผสมผสานระหว่างคาร์ดิโอและการฝึกความแข็งแกร่ง การฝึกแอโรบิก รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อความยืดหยุ่น
- โภชนาการ: เน้นปริมาณโปรตีนที่สูงขึ้น อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ และลดพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวลง
3. สมรรถภาพในช่วงอายุเกิน 60 ปี
ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรให้ความสำคัญกับการรักษาความคล่องตัว ความสมดุล รวมถึงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
- เน้น: การออกกำลังกายที่ใช้แรงกระแทกต่ำ กิจกรรมที่ฝึกทรงตัว และออกกำลังหัวใจและปอดในระดับปานกลาง
- โภชนาการ: อาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง และมีใยอาหารสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย
ปรับเปลี่ยนการออกกำลังกายให้เข้ากับไลฟ์สไตล์
ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบของแต่ละคน หรือการทำงานที่โต๊ะนาน ๆ ทำให้หลายคนไม่ค่อยมีเวลาไปออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม มีวิธีการปรับเปลี่ยนการออกกำลังกายให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้ เช่น
-
คนที่ทำงานเร่งรีบ
สำหรับคนที่มีตารางงานยุ่งตลอดเวลา การหาเวลาออกกำลังกายอาจเป็นเรื่องยาก แนะนำให้ออกกำลังกาย โดยการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ แต่มีความเข้มข้นสูง (HIIT) หรือเดินช่วงพักกลางวัน รวมทั้งเลือกอาหารและของว่างที่ดีต่อสุขภาพ
-
พ่อบ้าน
สำหรับคนที่เป็นพ่อบ้านสามารถรวมการออกกำลังกายเข้ากับกิจวัตรประจำวันร่วมกับการทำกิจกรรมกับคนในครอบครัวได้ โดยออกไปเดินเล่นหรือปั่นจักรยานกับครอบครัว หรือฝึกออกกำลังกายที่บ้านก็ได้ ในส่วนของโภชนาการก็ควรเลือกอาหารที่ปรุงทำเองที่บ้าน โดยอาจจะเน้นทำอาหารเพื่อสุขภาพ หรือเลือกกินแบบคีโต
-
คนที่เดินทางบ่อย
หากคุณเป็นคนที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ กิจวัตรการออกกำลังกายของคุณจะต้องปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นได้ โดยอาจจะเน้นการออกกำลังกายแบบบอดี้เวท การใช้ฟิตเนสของโรงแรม วิ่งจ็อกกิ้งในตอนเช้า ที่สำคัญเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพหากต้องรับประทานอาหารนอกบ้าน และของว่างเพื่อสุขภาพ
คำแนะนำทางโภชนาการเพื่อสุขภาพของผู้ชาย
โภชนาการที่เหมาะสมมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพของผู้ชายทุกคน ไม่ว่าคุณกำลังต้องการเพิ่มสมรรถภาพทางกาย ควบคุมน้ำหนัก หรือเพียงรักษาสุขภาพให้แข็งแรง การเข้าใจพื้นฐานของโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเพื่อช่วยคุณในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกกินอาหารของคุณ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสารอาหารหลัก
ผู้ชายมีความต้องการสารอาหารบางประการมากกว่าเพศหญิง ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับโภชนาการเหล่านี้เป็นพิเศษ
- โปรตีน – จำเป็นสำหรับการซ่อมแซมและการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ โดยหาได้จากเนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา ผลิตภัณฑ์จากนม และพืชตระกูลถั่ว ควรได้รับประมาณ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- คาร์โบไฮเดรต – แหล่งพลังงานหลักของร่างกาย ซึ่งได้จากธัญพืชที่ไม่ขัดสี ผลไม้ ผัก รวมถึงนม ไข่ และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
- ไขมัน – จำเป็นสำหรับการผลิตฮอร์โมนและการดูดซึมสารอาหาร ควรเลือกกินไขมันดีเพื่อสุขภาพ เช่น อะโวคาโด ถั่ว เมล็ดพืช และน้ำมันมะกอก หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์, น้ำตาล และอาหารที่แปรรูป
ความสำคัญของสารอาหารรอง
- วิตามินและแร่ธาตุ – วิตามินที่จำเป็นอย่าง วิตามิน A, C, D, E และ B-complex พร้อมด้วยแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และสังกะสี โดยทั่วไปแล้วการรับประทานอาหารที่หลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยผลไม้ ผัก โปรตีนไร้ไขมัน และธัญพืชไม่ขัดสีมักครอบคลุมความต้องการเหล่านี้
- การดื่มน้ำ – จำเป็นต่อทุกการทำงานของระบบในร่างกาย ตั้งเป้าดื่มน้ำอย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน หรือมากกว่านี้ หากคุณออกกำลังกายหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อน
- อาหารที่สมดุลเพื่อสุขภาพโดยรวม – ควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นทั้งหมด และควบคุมปริมาณอาหาร ใส่ใจกับปริมาณหรือแบ่งกินมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อตลอดวันแทน เพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานมากเกินไป แนะนำ อาหารเพื่อสุขภาพ 10 ชนิด เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการเลือกรับประทานอาหาร
เคล็ดลับโภชนาการสำหรับความต้องการเฉพาะ
โภชนาการเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของผู้ชายนั้นควรคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ, ระดับกิจกรรม, สุขภาพโดยรวม และเป้าหมายด้านสุขภาพ นี่คือแนวทางทั่วไปสำหรับโภชนาการที่ดีสำหรับผู้ชาย
อาหารที่เหมาะสมกับวัย
การรู้จักประเภทของอาหารที่ทำให้ร่างกายของคุณรู้สึกดี และปรับเปลี่ยนรูปแบบการกินให้เหมาะสมกับความต้องการและเป้าหมายด้านสุขภาพของคุณ เช่น สำหรับผู้ชายสูงวัย ควรเน้นแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อสุขภาพของกระดูก และไฟเบอร์เพื่อสุขภาพทางเดินอาหาร
อาหารที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย
การเลือกอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ชายที่ออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสนับสนุนการทำงานของร่างกายและเป้าหมายทางด้านการออกกำลังกายได้ดีขึ้น ควรกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนแต่ไม่หนักท้อง ประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย และหลังออกกำลังควรรับประทานโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต เพื่อช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อและเติมพลัง เช่น เวย์โปรตีน หรืออกไก่ก็เป็นตัวเลือกที่ดี
อาหารที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก
หนึ่งในวิธีที่หลายคนเลือกใช้ในการควบคุมน้ำหนัก นั่นก็คือ การใช้ยาหรืออาหารเสริมลดความอ้วน แล้วยาลดน้ำหนักแบบไหนดี? ซึ่งวิธีนี้อาจจะเหมาะสำหรับบางคนที่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้เอง หรือต้องทำร่วมกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย สำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักนั้น ควรมุ่งเน้นไปที่การเลือกรับประทานโปรตีนไร้ไขมัน ผักและผลไม้ที่มีใยอาหารสูง และไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น และให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
อาหารเสริม
อาหารเสริมจะมีประโยชน์ หากร่างกายของคุณขาดสารอาหารบางชนิด อาหารเสริมทั่วไปสำหรับผู้ชาย เช่น วิตามินดี กรดไขมันโอเมก้า 3 และอาหารเสริมโปรตีน เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกาย ที่สำคัญควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนเริ่มกินอาหารเสริมใด ๆ
ไม่ว่าคุณจะอายุ 20 หรือ 60 ปี เป็นคนทำงานยุ่งตลอดเวลา หรือทำงานเป็นพ่อบ้าน การออกกำลังกายที่ดีควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับวัยและไลฟ์สไตล์ของคุณด้วย รวมถึงการเลือกโภชนาการที่มีประโยชน์ให้เหมาะสมกับร่างกาย จะยิ่งช่วยสนับสนุนเป้าหมายในการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะโภชนาการเพื่อสุขภาพของผู้ชาย คุณสามารถรักษาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีได้ด้วยการใส่ใจในมื้ออาหารที่สมดุล รักษาสุขภาพร่างกาย และเลือกรับประทานอาหารให้ตรงตามเป้าหมายทางสุขภาพ จะช่วยให้ดำรงวิถีชีวิตอย่างมีสุขภาพดีได้ ตระหนักเสมอว่า หลักของโภชนาการที่ดีคือความพอดีและความหลากหลายเหมาะสมกับวัย
คำถามที่พบบ่อย
1. ควรปรับเปลี่ยนกิจกรรมการออกกำลังกายบ่อยแค่ไหน?
ทุก 4-6 สัปดาห์ หรือเมื่อคุณรู้สึกว่ากิจวัตรการออกกำลังกายปัจจุบันของคุณไม่ท้าทายอีกต่อไป
2. โภชนาการแบบใดดีที่สุดสำหรับผู้ที่ออกกําลังกาย?
โดยทั่วไปแนะนำให้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันผสมกัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการเฉพาะอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย
3. จะดูแลสุขภาพได้อย่างไรถ้าทำงานจนไม่มีเวลา?
เลือกออกกำลังกายแบบ HIIT หรือเดินเล่นสั้น ๆ ในช่วงพัก รวมถึงการเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ
4. จะสายเกินไปไหมที่จะเริ่มออกกำลังกายตอนอายุ 60 แล้ว?
มันไม่สายเกินไป! แต่สำหรับคนสูงวัยควรเน้นการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความสมดุล และรักษาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
อ้างอิง :
- Kristine Gill, “Staying fit as you age isn’t just about exercise. Experts say to prioritize these 4 habits,” Fortune, July 23, 2023, https://www.fortune.com/well/2023/07/23/how-to-stay-fit-as-you-age
- Carol Mithers, “The Decade-by-Decade Guide to Exercise,” Oprah, December 15, 2023, https://www.oprah.com/health/exercise-for-your-20s-30s-40s-50s-and-60s_1
- Danielle Friedman, “How You Should Change Your Workout Once You Hit 40,” NY Times, August 4, 2023 https://www.nytimes.com/2023/08/01/well/move/workout-fitness-over-40.html